Probability : Law of total probability

 

ในบางครั้ง การหาค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เรายังมีข้อมูลไม่มากพออาจต้องใช้สิ่งที่เราทราบอยู่แล้วมาใช้ประโยชน์ได้ พิจารณาตัวอย่างข้อมูลผู้ติดเชื้อ Covid 19 [1] ในประเทศสหรัฐอเมริกาเผยแพร่โดย Central Disease Control and Prevention ปรับปรุงเมื่อ 6 กันยายน พ.ศ. 2563 [2] ถ้ายกข้อมูลผู้ติดเชื้อแยกตามเพศและจำนวนผู้เสียชิวิตมาคำนวณหาความน่าจะเป็น จะได้แผนภาพตามรูปที่ 1

รูปที่ 1



จากรูปที่ 1 ทำให้เราทราบว่า จากจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด (พิจารณาเฉพาะผู้ติดเชื้อเท่านั้น) 

1.  ความน่าจะเป็นที่ผู้ป่วยจะเป็นเพศชาย (Male) คือ 0.48   ความน่าจะเป็นที่จะเป็นเพศหญิง (Female)  คือ  0.52 

2.  หากเลือกผู้ป่วยที่เป็นเพศหญิงมาหนึ่งรายแบบสุ่ม ความน่าจะเป็นที่ผู้ป่วยรายนั้นจะเสียชีวิตคือ 0.027

3. หากเลือกผู้ป่วยเพศชายมาหนึ่งคนแบบสุ่ม ความน่าจะเป็นที่ผู้ป่วยรายนั้นจะเป็นผู้เสียชีวิตคือ 0.034

P(sex=female)=0.52P(sex=male)=0.48P(dead=yessex=female)=0.027P(dead=yessex=male)=0.034P(dead=nosex=female)=0.973P(dead=nosex=male)=0.966

จากข้อมูลเหล่านี้ จะคำนวณหาค่าความน่าจะเป็นการเสียชีวิตจากการติดเชื้อ Covide-19ได้อย่างไร  P(dead = yes)=?

แผนภาพ Venn ตามรูปที่ 2 ช่วยให้เห็นภาพชัดขึ้นว่าสิ่งที่เราต้องการหาคือพื้นที่ส่วนที่น้ำเงิน ซึ่งเกิดการรวมตัวของพื้นที่สองส่วนคือ DeadMale และ DeadFemale

รูปที่ 2



P(dead)=P(deadmale)+P(deadfemale)P(dead)=P(dead=yessex=male)×P(sex=male)+P(dead=yessex=female)×P(sex=female)P(dead)=0.034×0.48+0.027×0.52=0.030

จากตัวอย่างนี้เป็นตัวอย่างการคำนวณค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ด้วยหลักการของ Law of total probability ซึ่งสรุปไว้ว่า
P(A)=i=1nP(ABi)=i=1nP(ABi)P(Bi)

ความคิดเห็น