มีการกำหนดความหมาย (interpretation) ของความน่าจะเป็นไว้ 3 แนวทางคือ
1. Classical interpretation : ถ้า A คือ event ใดๆ และ S คือ sample space ที่มี A อยู่ แล้ว ค่าความน่าจะเป็นของ event A เขียนแทนด้วยP(A) โยงจาก A ไปยังเซตของจำนวนจริงที่เป็นตัวแทนของโอกาสที่ A จะเกิดขึ้น สัจพจน์ (axioms) ของความน่าจะเป็นมีดังนี้
1. ค่าความน่าจะเป็นจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0.0 กับ 1.0 เท่านั้น
♦
2. ค่าความน่าจะเป็นของ sample space คือ 1.0 เพราะจะไม่มี event เกิดขึ้นนอก sample space
♦
3. ถ้ามี event มากกว่า 1 event และ event เหล่านั้นไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน (disjoint sets) ความน่าจะเป็นที่อย่างน้อย 1 eventจะเกิดขึ้นคือผลรวมของค่าความน่าจะเป็นของแต่ละ events
♦ ถ้า
เพื่อขยายความการใช้สัจพจน์ทั้ง 3 ขอยกตัวอย่างดังนี้ ถ้าในการตรวจสอบสินค้าที่ผลิตออกมาจากสายการผลิต ผลตรวจตัวอย่างสินค้าแต่ละชิ้นจะมีอยู่ 2 ทางคือ acceptable (A) และ unacceptable (U) นั่นคือ
♦
♦
♦
♦ เพราะสินค้าชินเดียวจะมีสองสถานะไม่ได้ นั่นคือ A และ U จะไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน
♦ จากสัจพจน์ที่ 3 ความน่าจะเป็นที่สินค้าจะได้สถานะอย่างใดอย่างหนึ่งคือ P(A) + P(U)
♦ และ
2. Subjective interpretation : เป็นการตีความตามประสบการณ์ ระดับความเชื่อ การตัดสินใจ ข้อมูลประกอบ ฯล ของผู้ตีความ เช่น ถ้าเห็นเมฆสีดำรอยอยู่ บางคนอาจบอกว่าฝนจะตกแน่ แต่บางคนอาจบอกว่าไม่ตก การซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล ฯล การตีความแนวนี้เกิดขึ้นได้บ่อยครั้งในชีวิตประจำวัน
3. Empirical interpretation : เมื่อมีขนาดของ sample space จำนวนมากระดับหนึ่ง จะมีความเชื่อว่าค่า P(A) ที่คำนวณได้จะมีค่าเข้าใกล้ true probability ของ A เช่น
การโยนเหรียญ 1 เหรียญ 100,000 ครั้ง แล้วได้ H 54,500 ครั้ง และ T 45,500 ครั้ง นั่นคือ P(H) = 0.545 และ P(T) = 0.455 สรุปว่า
เนื้อหาที่จะกล่าวถึงต่อไปจะยึดการตีความตาม classical approach
คุณสมบัติของ probability ที่มีนอกเหนือจากที่กล่าวไว้ในสัจพจน์ ได้แก่
Complement rule :
![]() |
รูปที่ 1 |
ถ้า A คือ event แล้ว
ตัวอย่าง ถ้าระบบการผลิตสินค้าของโรงงานแห่งหนึ่ง มีระบบย่อย 3 ระบบ A,B และ C การทำงานของแต่ละระบบย่อยมี 2 สถานะคือ success (S) และ fail (Fail) ในการผลิตสินค้าระบบย่อยทุกระบบต้องมีสถานะเป็น S จึงจะผลิตสินค้าได้
![]() |
รูปที่ 2 |
ถ้าให้ S แทน sample space ของสถานะของระบบย่อย แล้ว
ถ้าให้ X แทน event ที่ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ (อย่างน้อย 1 ระบบย่อยเป็น F)
และจะได้
Addition rule :
![]() |
รูปที่ 3 |
จากรูปจะได้ว่า
ตัวอย่าง จากการสำรวจทางการตลาดที่หมู่บ้านหนึ่ง ของบริษัท XYZ พบว่า 60% ของครัวเรือนติดตั้งระบบ cable TV ของบริษัท จำนวน 80% ติดตั้งระบบ Internet ของบริษัท และจำนวน 50 % ติดตั้งทั้ง cable TV และ Internet
ใช้รูปที่ 3 ประกอบ ให้ A แทน event ของการติดตั้ง cable TV และ B แทน event ของการติดต้้งระบบ Internet
♦ ค่าความน่าจะเป็นของการติดต้้งระบบ calbe TV คือ
♦ ค่าความน่าจะเป็นของการติดต้้งระบบ Internet คือ
♦ ค่าความน่าจะเป็นของการติดต้้งระบบ cable TV และ Internet คือ
♦ และค่าความน่าจะเป็นของการติดต้้งระบบ calbe TV หรือ Internet คือ
ตีความว่า 90% ของครัวเรือนในหมู่บ้านแห่งนี้ได้มีการใช้บริการของบริษัท XYZ อย่างน้อย 1 อย่าง
พิจารณาแผนภาพจะเห็นว่า ครัวเรือนที่มีระบบ cable TV (วงกลม A) นั้นมีบางส่วนที่มีระบบ Internet รวมอยู่ด้วย ดังนั้นจำนวนครัวเรือนที่มีแต่ cable TV อย่างเดียวจะเป็น 60% - 50% = 10%
ทำนองเดียวกัน จำนวนครัวเรือนที่มีแต่ Internet อย่างเดียวจะเป็น 80% - 50% = 30%
ดังนั้นสรุปได้ว่าในหมู่บ้านนี้ มีการใช้บริการของ XYZ ดังนี้
♦ ติดตั้ง cable TV อย่างเดียว 10 %
♦ ติดตั้ง Intenet อย่างเดียว 30 %
♦ ติดตั้ง ทั้ง cable TV และ Internet 50 %
♦ ไม่ติดตั้งอะไรเลย 10 %
การระบุค่าเป็น % ก็จัดเป็นการระบุค่าความน่าจะเป็นได้ เช่น มีการติดตั้ง cableTV 60% หมายถึง ถ้าให้ C แทน event ของครัวเรือนที่มีการติดตั้ง cableTV นั่นคือ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น