Probability : Dependency , Joint probability

Dependence of events

 เหตุการณ์เป็นอิสระต่อกันหมายถึง การเกิดขึ้นของเหตุการณ์ที่กำลังสนใจ ไม่ได้มีผลจากเหตุการณ์อื่นที่เกิดขึ้นก่อนหน้า เช่น 

  • เวลาพระอาทิตย์ขึ้นที่ดาวอังคารไม่ได้ขึ้นกับเวลาพระอาทิตย์ขึ้นบนโลก 
  • การโยนเหรียญ 1 เหรียญ 2 ครั้ง การออกหน้าใดหน้าหนึ่งของการโยนเหรียญไม่ได้ขึ้นต่อกัน
  • ฯล

สำหรับเหตุการณ์ที่ไม่เป็นอิสระต่อกันก็จะตรงกันข้าม 

นิยาม 

ให้ A, B แทนสองเหตุการณ์ใดๆ

ถ้า P(AB)=P(A)P(B) แล้ว A และ B independent

ถ้า P(AB)P(A)P(B) แล้ว A และ B dependent


ตัวอย่างที่ 1  ทอดลูกเต๋า 2 ลูก หนึ่งครั้ง 

A แทนเหตุการณ์ลูกเต๋าลูกแรกออกหน้า 1

B แทนเหตุการณ์ลูกเต๋าลูกที่สองออกหน้าที่มากกว่าลูกแรก

C แทนเหตุการณ์ลูกเต๋าทั้งสองออกหน้าเดียวกัน

หา Sample space ของหน้าลูกเต๋า

S={(1,1),(1,2),(1,3),(1,4),(1,5),(1,6),(2,1),(2,2),(2,3),(2,4),(2,5),(2,6),(3,1),(3,2),(3,3),(3,4),(3,5),(3,6),(4,1),(4,2),(4,3),(4,4),(4,5),(4,6),(5,1),(5,2),(5,3),(5,4),(5,5),(5,6),(6,1),(6,2),(6,3),(6,4),(6,5),(6,6)}

P(A)=636P(B)=1536P(C)=636P(A)P(B)=636×1536=572P(A)P(C)=636×636=136P(B)P(C)=1536×636=572P(AB)=536P(AC)=136P(BC)=0.0

นำค่าความน่าจะเป็นไปเทียบกับนิยามข้างต้น จะสรุปได้ว่า 

เหตุการณ์ A และ C เป็นอิสระต่อกัน 

เหตุการณ์ A และ B ไม่เป็นอิสระต่อกัน 

เหตุการณ์ B และ C ไม่เกิดร่วมกัน (mutually exclusive))


ตัวอย่างที่ 2

ถ้าผลการตรวจหาโรคชนิดหนึ่งทางห้องปฏิบัติการให้ผล True Positive (ป่วยจริงและผลตรวจเป็นบวก) คือ 92% แต่ผลการตรวจจะเป็นที่ยอมรับก็ต่อเมื่อมีการตรวจซ้ำด้วยวิธีการเดียวกันจากห้องปฏิบัติการ 2 แห่ง หาความน่าจะเป็นที่ผู้ที่ติดเชื้อจริงได้ผลตรวจเป็นบวกจากทั้งสองห้องปฏิบัติการ และความน่าจะเป็นที่ได้ผลบวกจากห้องปฏิบัติอย่างน้อย 1 แห่ง

กำหนดให้ 

X แทนเหตุการณ์ได้ผลตรวจเป็นบวกจากห้องปฏิบัติการแรก

Y แทนเหตุการณ์ได้ผลตรวจเป็นบวกจากห้องปฏิบัติการที่สอง

ด้วยสามัญสำนึก ผลการตรวจจากแต่ละห้องปฏิบัติการควรเป็นอิสระต่อกัน ดังนั้นจะได้ว่า

P(X)=P(Y)=0.98

ความน่าจะเป็นที่ผลการตรวจเป็นบวกทั้งสองห้องปฏิบัติการ

P(XY)=P(X)P(Y)P(XY)=0.98×0.98=0.9604


ความน่าจะเป็นที่ผลการตรวจเป็นบวกอย่างน้อยหนึ่งห้องปฏิบัติการ

P(XY)=P(X)+P(Y)P(XY)P(XY)=0.98+0.980.9604=0.99


Independence ในมุมมองของ conditional probability

ถ้า A,B เป็นอิสระต่อกันแล้ว

P(AB)=P(A)P(B)(1.0)P(A)=P(AB)P(B)

จาก conditional probability

(1.1)P(AB)=P(AB)P(B)


จาก (1.0) และ (1.1) สรุปได้ว่า ถ้า A และ B เป็นอิสระต่อกันแล้ว จะได้

(1.2)P(A)=P(AB)


Joint probability

ถ้าเหตุการณ์ที่เป็นอิสระต่อกันเกิดขึ้นพร้อมกันมากกว่า 1 เหตุการณ์ ความน่าจะเป็นที่เหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นพร้อมกันเรียกว่า joint probability [3] ซึ่งใช้การคำนวณเช่นเดียวกับการคำนวณหาค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เป็นอิสระต่อกัน

กลับไปพิจารณาตัวอย่างที่ 1 เหตุการณ์ A และ C เป็นอิสระต่อกัน และ joint probability ของ A,C คือ 16×16=136

ระวังสับสนความหมายกันระหว่าง conditional probability กับ joint probability ทั้งสองกล่าวถึงคนละกรณีกัน แม้บางครั้งค่าความน่าจะเป็นอาจมีค่าเท่ากัน conditional probability สนใจความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่สองเมื่อเหตุการณ์แรกเกิดขึ้นแล้ว ในขณะที่ joint probability มองไปที่การเกิดขึ้นพร้อมกันของเหตุการณ์ ยกตัวอย่างเหตุการณ์ A และ C จากตัวอย่างที่ 1 เราทราว่า P(AC)=136 ถ้าคิดในรูปของ conditional probability กรณี ถ้าลูกเต๋าหงายหน้าเดียวกัน (เหตุการณ์ C) ความน่าจะเป็นของที่ลูกเต๋าลูกแรกหงายหน้า 1 (เหตุการณ์ A)

:

P(AC)=P(A)P(CA)P(C)P(AC)=16×1616P(AC)=16


Conditional dependency  [4]
ถ้าเหตุการณ์ A,B เป็นเหตุการณ์ที่เป็นอิสระต่อกันแล้ว จะเกิด conditional dependency ต่อเหตุการณ์ C ได้ก็ต่อเมื่อ

(1.3)P(ABC)=P(AC)P(BC)

เอกสารอ้างอิง

[1] https://en.wikipedia.org/wiki/Independence_(probability_theory)#For_events 

[2] https://smarter-machine.blogspot.com/2020/09/probability-conditional-probability.html

[3] https://en.wikipedia.org/wiki/Joint_probability_distribution#Coin_flips

[4] https://en.wikipedia.org/wiki/Conditional_independence

ความคิดเห็น