Basic Calculus : Integration part 1

หัวข้อ

  ♦ แนวคิด

  ♦ Notation

  ♦ กฏของ Integration

  ♦ Part 2


แนวคิด

ในเนื้อหาเรื่อง Limits ได้มีการเกริ่นถึงแนวคิดของ integration ไปบ้างแล้ว ในตอนนี้จะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง differentiation และ integration


เหตุการณ์สมมุติ : ถ้ามีหุ่นยนต์ตัวหนึ่ง ถูกติดตั้งระบบวัดระยะทางการเคลื่อนที่แบบละเอียด ปล่อยให้เคลื่อนที่จากจุดหยุดนิ่งจุดหนึ่งเป็นเวลา 100 วินาที แล้วนำข้อมูลที่บันทึกได้มา plot กราฟระหว่างระยะทางที่เคลื่อนที่ได้กับเวลา ได้ดังรูปที่ 1


 รูปที่ 1

ถ้าให้ y แทนระยะทางและ x แทนเวลาที่ใช้ จากกราฟเราอาจกล่าวได้ว่าระยะทางที่เคลื่อนที่ไปเป็น function ของเวลา

(1.0)y=f(x)

ความรู้จากกลศาสตร์เรื่องกฏการเคลื่อนแนวเส้นตรง บอกเราว่า

velocity=distance traveledtime takendistance traveled=velocity×time taken

ดังนั้น ความเร็วของหุ่นยนต์ (V) ณ เวลาใดๆ (1.1)V=limΔx0ΔyΔx=dydxV=2

จะเห็นว่า ค่าความเร็วที่ได้คือ derivative ของ f(x) ใน (1.0) ต่อไป นำเอา V ไป plot กราฟเทียบกับเวลา ได้ตามรูปที่ 2 (ที่ได้กราฟเป็นเส้นตรงเพราะค่าของ velocity เป็นค่าคงที่)

รูปที่ 2

กราฟในรูปที่ 2 แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ความเร็ว (V) กับเวลา (x) หรืออาจได้ว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง derivative ของ f(x) กับ x


พื้นที่ใต้กราฟในรูปที่ 3 หาได้จาก

area under curve=velocity×time taken

เทียบกับสมการของกฏการเคลื่อนที่แล้ว พื้นที่ใต้กราฟก็คือระยะที่เคลื่อนที่ได้นั่นเอง เราอาจเขียนสมการนี้ใหม่ที่มี derivative

distance traveled =velocity×time takendistance traveled =dydxΔx

ถ้ากำหนดให้ Δx มีค่าน้อยๆ ( Δx0 ) ก็จะเหมือนกับการแบ่งพื้นที่ใต้กราฟในรูปที่ 2 ออกเป็นสี่เหลี่ยมหลายรูป ตามรูปที่ 3


รูปที่ 3

มุมมองนี้ทำให้เห็นว่าการจะหาว่าหุ่นยนต์เดินทางไปได้ระยะทางเท่าใด สามารถคำนวณได้จากการนำเอาพื้นที่ของสี่เหลี่ยมที่แบ่งไว้ในจินตนาการมารวมกัน

(1.2)distance traveled =sum of dydxΔx

กระบวนนี้เรียกว่าการ integration และเมื่อนำไปเทียบกับ (1.0) จะเห็นว่า (1.0) และ (1.2) มีความหมายเดียวกันหรือเป็น function เดียวกัน


จากที่กล่าวมาก็เพื่อจะทำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่าง differentiation และ integration ว่าเป็นกระบวนที่ตรงข้ามกัน การทำ differentiation ทำให้เกิด derivative ของ f(x) เมื่อนำ derivative มาทำการ integration ก็จะได้ f(x) กลับคืนมา ด้วยเหตุนี้ทำให้บางครั้ง integration อาจถูกเรียกว่าเป็น antiderivative

รูปที่ 4

แนวคิดของ Integration มาจากการหาพื้นที่ใต้กราฟระหว่าง f(x) กับ x


Notation

การทำ integration ใช้สัญญลักษณ์ ที่ดูเหมือนกับอักษร S ที่ถูกยืดออก และ s ก็มาจากคำ "sum" ซึ่งหมายถึงการรวมเข้าด้วยกัน รูปแบบทั่วของ integratiion คือ

(2.0)g(x)dx=f(x)+C

เมื่อ g(x)=f(x)=dydx และเรียก C ว่าเป็น arbitary constant หรือ integration constant รูปแบบที่เขียนใน (2.0) เรียกว่าเป็น indefinite integral


อีกรูปหนึ่งเรียกว่า definite integral ซึ่งจะมีการกำหนดช่วงของ domain [a,b] ไว้ด้วย

(2.1)abg(x)dx=f(x)|ab=f(b)f(a)

เช่น ถ้า f(x)=2x3

Indefinite integral :

2x3dx=24x4+C2x3dx=x42+C

Definite integral ช่วง [2,4] :

242x3dx=x42|24242x3dx=(442+C)(242+C)242x3dx=2562+C162C242x3dx=120

เนื่องจาก integration มาจากการคำนวณหาพื้นที่ใต้กราฟ ดังนั้นข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณหาพื้นที่สี่เหลี่ยมใต้กราพคือ width กับ height ก็จะมีปรากฏอยู่ในรูปแบบของการเขียนสัญลักษณ์



กฏของ Integration


  ♦  Constant rule

cdx=cx, c is constant

เช่น 5x2dx=5x2dx


  ♦  Multiplication by constant

cf(x)dx=cf(x)dx, c is constant

เช่น 5x2dx=5x2dx


  ♦  Power rule

xndx=xn+1n+1+C

เช่น 5x2dx=5x33+C


  ♦  Sum rule

[f(x)±g(x)]dx=f(x)dx±g(x)dx

เช่น (4x+3)dx=4xdx+3dx=2x2+3x


  ♦  Recipocal rule

1xdx=ln|x|+C

ln(x) คือ natural logarithm หรือ loge(x)


  ♦  Exponential rule

exdx=ex+Caxdx=axlna+Clnx=xlnxx+C

e คือ Euler's number มีค่าประมาณ 2.71828


  ♦  Trigonometry rule

cos(x)dx=sin(x)+Csin(x)dx=cos(x)+Csec2(x)=tan(x)+C

x คือค่าของมุมมีหน่วนเป็น radian


ตัวอย่าง หา f(x) จาก derivatives ต่อไปนี้

  ♦  ex3

(ex3)dx=ex3dx, sum rule(ex3)dx=ex3x+C, exponential and power rulesf(x)=ex3x+C

  ♦  cos(x)+x

(cos(x)+x)dx=cos(x)+xdx, sum rule(cos(x)+x)dx=sin(x)+12x2+C, trigonometry and power rulesf(x)=sin(x)+12x2+C

ความคิดเห็น