Counting principle part 2 : Inclusion / Exclusion Principle


Inclusion / Exclusion Principle


กฏนี้บางครั้งถูกเรียก Subtract Principle การอธิบายหลักการในเรื่องนี้ด้วยวิธีการของเซตจะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น พิจารณาแผนภาพในภาพที่ 1

ภาพที่ 1

พิจารณาที่เซต A (โดยไม่สนใจ B) มีจำนวนสมาชิกเป็น 4 แล้วมาพิจารณาที่เซต B (โดยไม่สนใจ A) มีจำนวนสมาชิกเป็น 3 หากให้สุ่มหยิบของในภาพมา 1 ชิ้น การคำนวณหาจำนวนทางเลือกที่ได้ของมาไม่ซ้ำกันด้วยหลักการ Addition Principle จะได้เป็น 4+3=7 ดังภาพที่ 2

ภาพที่ 2

สิ่งที่ผิดปรกติในภาพที่ 2 คือ มีรายการซ้ำกัน ดังนั้นจำนวนสิ่งของ(ทางเลือก)ที่เป็นไปได้ทั้งหมดต้องหักที่ซ้ำออกไป 1 รายการ ทำให้ผลลัพธ์สุดท้ายเหลือเพียง 6 รายการ

ดังนั้นการคำนวณที่ถูกต้อง เรายังคงใช้หลักการตาม Addition Principle ได้อยู่ เพื่อให้ได้จำนวนทางเลือกรวมทั้งหมด (inclusion) แต่ต้องนำเอาจำนวนที่ซ้ำกันออก (exclusion / subtract) ไป นำไปสู่ข้อสรุปของ Inclusion/Exclusion Principle ดังนี้


ถ้ามีเหตุการณ์ A มีจำนวนทางเลือกที่จะเกิดขึ้นของแต่ละเหตุการณ์เป็น m และ เหตุการณ์ B มีจำนวนทางเลือกที่จะเกิดขึ้นของแต่ละเหตุการณ์เป็น n จำนวนทางเลือกของการเกิดขึ้นซ้ำกันของ A และ B เป็น p จำนวนทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้งหมดของการเกิดของ เหตุการณ์ A หรือ เหตุการณ์ B คือ m+np

หรืออาจเขียนในรูปแบบที่อิงกับเรื่องเซต


ถ้า A และ B เป็นเซตที่สามารถนับจำนวนสมาชิกได้ (finite set) แล้ว |AB|=|A|+|B||AB|

Addition Principle ใช้การคำนวณเดียวกับ Exclusion/Inclusion Principle เพียงแต่ใช้ในกรณีที่ |AB|=0

ตัวอย่าง

สมมุติในการสำรวจความสนใจต่อผลิตภัณฑ์ด้วยการกรอกแบบสอบถาม จำนวนหนึ่ง ผลิตภัณฑ์ที่นำมาทดสอบมี 3 รุ่น คือ A,B และ C หลังจากผู้เข้าร่วมได้ทดสอบตัวผลิตภัณฑ์แล้ว ให้แสดงความสนใจของตัวเองลงในแบบสอบภาม โดยใช้คำตอบเพียง "สนใจ" กับ "ไม่สนใจ" ในผลิตภัณฑ์แต่ละรุ่นและสามารถเลือกแสดงความเห็นได้มากกว่า 1 รุ่น ผลการสำรวจแสดงในตาราง

รุ่นของผลิตภัณฑ์ จำนวนผู้ให้ความสนใจ
A 12
B 5
C 8
A และ B 2
A และ C 6
B และ C 3
A และ B และ C 1

ให้คำนวณหาจำนวนผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์เพียงรุ่นเดียว และจำนวนคนที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด

การคำนวณหาคำตอบที่ต้องการจะนำเอาตัวเลขผู้ที่สนใจใน A,B,C คือ 12+5+8=25 มาตอบทันทีไม่ได้ เพราะตัวเลขที่เห็นอาจรวมเอาตัวเลขของคนที่สนใจมากกว่า 1 รุ่นปนอยู่ การนำเอา Venn Diagram มาช่วยจะทำให้การคำนวณง่ายขึ้น เริ่มต้นด้วย


จากตารางบอกว่าคนที่สนใจทั้ง A,B และ C มี 1 คน ซึ่งคือพื้นที่ส่วนตรงกลางในแผนภาพ (กรอบสีชมพู)


B และ C มีคนสนใจรวม 3 คน แต่เป็นคนที่สนใจทั้ง A,B,C ไปแล้ว 1 ดังนั้นจะเหลือ 2 คนที่สนใจเพียง B และ C


A และ C มีคนใจรวม 6 คน แต่เป็นคนที่สนใจทั้ง A,B,C ไปแล้ว 1 ดังนั้นจะเหลือ 5 คนที่สนใจเพียง A และ C


A และ B มีคนใจรวม 2 คน แต่เป็นคนที่สนใจทั้ง A,B,C ไปแล้ว 1 ดังนั้นจะเหลือ 1 คนที่สนใจเพียง A และ B


สิ่งที่ได้คือจำนวนคนที่สนใจในผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 รุ่นและคนที่สนใจ 2 รุ่นที่ชัดเจนกว่าที่แสดงในตาราง ขั้นตอนต่อไปคือการหาจำนวนคนที่สนใจในผลิตภัณฑ์เพียงรุ่นเดียว


ภาพสุดท้ายแสดงให้เห็นว่าจำนวนคนที่สนใน A อย่างเดียวมี 5 คน สนใจใน B อย่างเดียว 1 คน และไม่มีคนสนใจใน C อย่างเดียวเลย จำนวนคนที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมดหาได้จาก 5+5+1+1+1+2=15 คน 

จากตัวอย่างนี้ นำไปสู่ข้อสรุป

ถ้า A,B และ C เป็นเซตที่สามารถนับจำนวนสมาชิกได้ (finite set) แล้ว |ABC|=|A|+|B|+|C||AB||AC||BC|+|ABC|

ตรวจสอบการคำนวณจากตัวอย่าง |ABC|=12+5+8263+1=15 คน 

ความคิดเห็น