Counting Principle part 3 : Permutation และ Combination


Permutation


ถ้าให้เลือกจักรยานยนต์มา 2 คันจาก 4 คัน การหาทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้งหมดโดยใช้แผนภาพต้นไม้(tree diagram) จะได้ทางเลือกทั้งหมด 12 ทางเลือก (ภาพที่ 1)


ภาพที่ 1

หากต้องการใช้การคำนวณแทนการวาดแผนภาพ ก็สามารถใช้แยกเป็นงานย่อย 2 งานที่ทำต่อเนื่องกันคือ

  1. เลือกรถคันแรก จะมีทางเลือก 4 ทางลือกเท่ากับจำนวนรถที่มี เพราะยังไม่ได้ถูกเลือกมาก่อน
  2. เลือกรถคันที่สอง เนื่องจากถูกเลือกไปจากงานแรกแล้ว 1 คัน จำนวนรถที่เลือกได้จะเหลือ 3 คัน

ตามหลักการของ multiplication principle แล้ว จำนวนทางเลือกทั้งหมดคือ 4×3=12 ทางเลือก


จากภาพที่ 1 จะเห็นว่าการเลือกรถออกมาจากกลุ่มเดิมดูเหมือนกับการสร้างกลุ่มย่อย (subset) ขึ้นมาภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด กลุ่มย่อยที่อาจมีสมาชิกที่เหมือนกันแต่ถ้าการจัดเรียงที่ต่างกันก็นับว่าเป็นคนละกลุ่มย่อยกัน การหารูปแบบทั้งหมดของกลุ่มย่อยแล้วทำการนับจำนวน (แจงแล้วนับ) ทางคณิตศาสตร์เรียกว่า "Permutation"


สัญญลักษณ์ที่ใช้แทน Permutation มีหลายรูปแบบ เช่น nPk,Pn,k,P(n,k),Pkn โดย n แทนจำนวนสิ่งของที่มีอยู่ และ k แทนจำนวนสิ่งที่ถูกเลือก โดยมีสูตรการคำนวณดังนี้


(1.0)P(n,k)=n!(nk)!

n! อ่านว่า n-factorial เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มบวกและไม่เท่ากับศูนย์ โดย (2.0)n!=n×(n1)×(n2)×...×1 และกำหนดให้ 0! และ 1!=1


เช่น
  • 2!=2×1
  • 5!=5×4×3×2×1
  • 10!=10×9×8×7×6×5×4×3×2×1

ตัวอย่าง

1. ถ้ามีหนังสือที่ต่างกัน 7 เล่ม จะมีวิธีการจัดเรียงหนังสือบนชั้นวางหนังสือได้กี่วิธี

การคำนวณในข้อนี้ ยังไม่ต้องใช้สูตร (1.0) เพราะไม่ได้ระบุจำนวนของหนังสือที่ต้องเลือกออกมา ก็สรุปว่าต้องการเรียงหนังสือทั่ง 7 เล่ม ซึ่งการมองว่าเป็นงานที่ทำต่อเนื่องกัน 7 งานแต่ละงานคือการหยิบหนังสือขึ้นไปวางบนชั้นจะเห็นภาพที่ชัดเจนกว่า

งานที่ 1 มีทางเลือก 7 ทางเลือก

งานที่ 2 มีทางเลือก 6 ทางเลือก

งานที่ 3 มีทางเลือก 5 ทางเลือก

งานที่ 4 มีทางเลือก 4 ทางเลือก

งานที่ 5 มีทางเลือก 3 ทางเลือก

งานที่ 6 มีทางเลือก 2 ทางเลือก

งานที่ 7 มีทางเลือก 1 ทางเลือก

ตาม Multiplication principle ทางเลือกทั้งหมดจะเป็น 7×6×5×4×3×2×1=7!


ลองนำกรณีนี้ไปใช้กับสูตร (1.0) เนื่องจากต้องการนำหนังสือทุกเล่มไปจ้ดวาง ดังนั้นจะได้ว่า n = 7 และ k = 7 หรือ P(7,7) นำไปแทนใน (1.0)

P(7,7)=7!(77)!=7!0!=7!


จากตัวอย่าง ทำให้ทราบว่า

(3.0)P(n,n)=n!

อาจกล่าวได้ว่า หากเรามี finite set ที่มีสมาชิก n แล้ว permutation ของเซตนั้นคือ n!


2. จะมีวิธีจัดให้นักเดินทาง 4 คนเดินทางโดยพาหนะต่างกัน 3 ชนิดได้กี่วิธี โดยกำหนดให้พาหนะแต่ละชนิดรับนักเดินทางได้ 1 คน


ข้อนี้สามารถใช้สูตร (1.0) ได้ โดย n = 4, k=3

P(4,3)=4!(43)!=4!1!=4!=24


Combination


กลับไปพิจารณาภาพที่ 1 เราทราบแล้วว่า Permutation คือ 4!(42)! หากใช้มุมมองเรื่องเซตมาใช้คำนวณ เราจะได้วิธีการคำนวณอีกวิธีหนึ่งดังนี้

1. กำหนดให้ C แทนจำนวนเซตที่มีสมาชิกเป็นรถจักรยานยนต์ 2 คัน ตามที่กำหนดไว้

2. ความรู้จากสมการ (3.0) Permutation ของแต่ละเซตที่กำหนดไว้ในข้อ 1 จะเป็น 2!

3. ดังนั้นจำนวนวิธีที่จะจัดเรียงสมาชิกของเซตจำนวน C เซต จะเป็น C×2!

4. ค่าที่คำนวณได้ในข้อ 3 ต้องเท่ากับ 4!(42)! เพราะเรากำลังคำนวญหาสิ่งเดียวกัน แต่คนละวิธีคิด ดังนั้น P(4,2)=C×2!4!(42)!=C×2!(4.0)C=12!×4!(42)!หรือ(4.1)C=P(n,k)k!,n=4,k=2


ค่าของ C ที่คำนวณได้ เรียกว่าค่า Combination ซึ่งก็คือจำนวนของ subset ที่จะสามารถสร้างได้เมื่อเลือกสมาชิกจำนวน k จากเซตที่มีสมาชิก n นั่นเอง


สัญญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทน Combination มีหลายแบบ เช่น nCk,C(n,k),nCk,(nk) โดยมีสูตรคำนวณดังนี้


(5.0)C(n,k)=n!k!(nk)!

ตัวอย่าง

1. ร้านขายโยเกิร์ต มี topping ให้ลูกค้าได้เลือก 10 ชนิด โดยลูกค้าสามารถเลือกได้ 3 ชนิดต่อโยเกิร์ต 1 ถ้วย (ห้ามเลือกซ้ำ) ร้านนี้จะสามารถสร้างรายการ topping ที่แตกต่างกันได้กี่รายการ

การเลือก Topping จะเป็นรูปแบบของ combination เพราะลำดับของการเลือกไม่มีผลต่อรายการ ข้อนี้สามารถคำนวณโดยใช้ (5.0) ได้ C(10,3)=10!3!(103)!=10!3!7!=10×9×8×7!3×2×7!=10×9×83×2=120



Binomial Coefficients


อ้างอิงจาก Binomial theorem

(6.0)(x+y)n=j=0n(nj)xnjyj

สังเกตุดูจะเห็นว่าสูตรที่ใช้คำนวณหาค่า combination ถูกนำไปใช้ในการหา coefficient ของ binomial ด้วย

ตัวอย่าง

1. (2x+3y)3=?

(2x+3y)3=j=03(3j)(2x)3j(3y)j=(30)(2x)30(3y)0+(31)(2x)31(3y)1+(32)(2x)32(3y)2+(33)(2x)33(3y)3=(2x)3+3(2x)2(3y)+3(2x)(3y)2+(3y)3=8x3+36x2y+54xy2+27y3

Permutation คือการหาจำนวนของทางเลือกในการจัดเรียงสิ่งของ (finding the number of ways of arrange a certain number of distinct elements)


Combination คือการหาจำนวนของทางเลือกในการเลือกสิ่งของ (finding the number of ways of selecting a certain number of distinct elements)


ขอให้สังเกตุว่ามีการใช้คำ "distinct elements" ซึ่งเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของสมาชิกในเซต ดังนั้นจำเป็นต้องให้มั่นใจว่าสิ่งของที่จะมาหา Permutation หรือ Combination ต้องมากจาก distinct elements


แบบฝึกหัด


1. กำหนดชุดอักษร ABCDEFG จงคำนวณหา Permutation ของการนำตัวอักษรทุกตัวในชุดที่กำหนดให้มาจัดเรียงใหม่โดยไม่สนใจความหมายของคำ

    1.1 มีเงื่อนไขว่าทุกคำที่สร้างขึ้นมาต้องเริ่มต้นด้วย ABC



    1.2 มีเงื่อนไขว่าทุกคำที่สร้างขึ้นมาต้องมีชุดตัวอักษร ABC



2. คำนวณหา Permutation จากคำ "BANGKOK"



3. คนจำนวน 20 คน ถ้าให้แต่ละคนจับมือทักทายกับคนอื่นที่เหลือ จงคำนวณว่าการจับมือจะเกิดขึ้นทั้งหมดกี่ครั้ง



ความคิดเห็น